WordPress ตัวช่วยสร้างเว็บไซต์แบบง่ายๆด้วยตัวเอง

10/08/2021


    ในบทความที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จักกับ WordPress มาพอสมควรแล้ว ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเริ่มลงมือทำกันแล้ว สำหรับขั้นตอนการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress แบบง่าย มีขั้นตอนดังนี้

  1. ดำเนินการจด Domain name และ Hosting ให้พร้อม

Domain name คือ ชื่อเว็บไซต์ที่คุณเลือกเพื่อเอาไว้เป็นช่องทางให้ผู้อื่นติดต่อกับเว็บไซต์ของเรา

Hosting คือ พื้นที่ที่ใช้สำหรับจัดเก็บเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นมา

ซึ่งจะต้องจดทะเบียน Domain name และทำการเช่าใช้งาน Hosting ให้เรียบร้อย

  1. ดาวน์โหลดโปรแกรมและลงทะเบียนให้เรียบร้อย

    ในขั้นตอนถัดมาต้องดาวน์โหลด WordPress มาใช้งานโดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่wordpress.org หรือ th.wordpress.org สำหรับเวอร์ชั่นภาษาไทย

    เมื่อทำการดาวน์โหลดและติดตั้งเรียบร้อยแล้วเราก็จะต้องดำเนินการลงทะเบียนและกรอกรายละเอียดเพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน เพียงแค่นี้ก็พร้อมจะใช้งาน WordPress เพื่อสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้แล้ว

  1. Dashboard: พื้นที่ในการทำงานที่เราสามารถออกแบบและใส่ไอเดียได้ย่างเต็มที่

    เมื่อเข้ามาใน WordPress สิ่งแรกที่เราจะพบคือพื้นที่ในการทำงานที่เรียกว่าDashboard ในหน้านี้จะมีเมนู 2 ส่วนหลักคือ

- Admin Menu ทางด้านซ้ายมือซึ่งเป็นเมนูให้คุณเลือกปรับแต่งจัดการกับหน้าเว็บของคุณ

- Toolbar ที่อยู่ด้านบนซึ่งเป็นทางลัดไปยังเครื่องมือต่าง ๆ

  1. การตั้งค่าเว็บไซต์ ก่อนใช้งาน WordPress

    เราสามารถตั้งค่าเว็บไซต์โดยเลือกเมนู “setting” ที่อยู่ใน Admin Menu ทางซ้ายมือ ซึ่งเราต้องตั้งค่าใน 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

4.1 General Setting: การแสดงผลทั่วไปบนเว็บไซต์

– Site title: ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการให้แสดงผลบน Title bar

– Tagline: คำอธิบายเว็บไซต์โดยย่อที่ต้องการให้แสดงผลบน Title bar

– Site Address (URL): ที่อยู่เว็บไซต์ WordPress ของคุณ

– การตั้งค่าส่วนอื่นๆ เช่น อีเมล, Time zone, รูปแบบการแสดงวันที่

4.2 Reading: การตั้งค่าการอ่านสำหรับผู้อ่าน

เป็นส่วนในการตั้งค่าการแสดงผลของบทความบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถเลือกแสดงบทความล่าสุด หรือการกำหนดการแสดงผลของบทความ และรวมไปถึงการกำหนดจำนวนต่างๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

4.3 Writing: ตั้งค่าการเขียนบทความ

สามารถตั้งค่าการเขียนบทความ ได้ดังนี้

– Default Post Category: กำหนดหมวดหมู่เริ่มต้นให้บทความที่เขียนขึ้นใหม่

– Default Post Format: กำหนดรูปแบบของบทความซึ่งขึ้นอยู่กับธีมที่คุณเลือกใช้

4.4 Discussion: ตั้งค่าการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็น

– Default article setting: เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นของบทความ

– Allow link notifications: อนุญาตให้แจ้งเตือนว่ามี link จากเว็บไซต์อื่นมาอยู่ในcomment

– Allow people to post comments: การอนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเขียนแสดงความคิดเห็น, คำติชมได้

– การตั้งค่าอื่น ๆ ในหัวข้อนี้คุณสามารถกำหนดเพิ่มเติมในภายหลังได้

  1. การเลือก Theme ที่จะช่วยสื่อสารแบรนด์ให้ชัดเจน และตรงจุด

ก่อนที่เราจะทำการเลือก Theme ที่จะใช้บนหน้าเว็บไซต์ เราจะต้องมีการคิดอัตลักษณ์ของแบรนด์ หรือ Corporate Identity ให้ดีเสียก่อนและค่อยนำมาเลือก Theme ที่จะใช้บนหน้าเว็บไซต์เพื่อสร้างตัวตนของแบรนด์ที่ชัดเจนและให้เป็นที่น่าจดจำ สำหรับการเลือกTheme สามารถเข้าไปที่เมนู Appearance ใน Admin bar แล้วเลือกเมนู Themes ซึ่งภายในจะมี Theme ให้เราได้เลือกใช้งานมากมาย ซึ่งก็จะมีทั้งแบบฟรี และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

    6. ปรับแต่งเว็บ ด้วย Plugin ที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

สำหรับ Plugin ที่น่าสนใจที่ควรจะมีในหน้าเว็บไซต์ของเรา มีดังนี้

6.1 ปลั๊กอินป้องกัน: Akismet Plugin ตัวช่วยเรื่องเกี่ยวกับการป้องกัน Spam ของคอมเม้นท์ต่างๆ จากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

6.2 ปลั๊กอินสร้างฟอร์ม: Contact Form7 ใช้สำหรับสร้างฟอร์มติดต่อ เช่น Contact us, สอบถาม, ขอใบเสนอราคา เป็นต้น

6.3 ปลั๊กอินแชร์: Seed Social ใช้สำหรับการแชร์บทความไปยัง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, Google, Twitter หรือ Line เป็นต้น

 

6.4 ปลั๊กอิน SEO: Yoast SEO เป็นปลั๊กอินเสริมประสิทธิภาพ SEO จะช่วยในเรื่องโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ถูกต้องตามหลัก SEO เวลาเราเขียนบทความ ระบบจะแสดงไฟเขียว-ส้ม-แดง ให้เราทราบว่าควรปรับปรุงตรงไหน เพื่อให้ถูกต้องตามหลัก SEO On-Pageและในแง่ของโครงสร้างเว็บไซต์จะช่วยในเรื่อง Sitemap, Breadcrumb อีกด้วย

6.5 ปลั๊กอินร้านค้า: Woocommerce มีฟังก์ชันสำหรับทำร้านค้าออนไลน์ เช่น ระบบตะกร้า, ขนส่ง, การชำระเงิน, ระบบสมาชิก, ระบบจัดการหลังร้าน, ระบบเช็คออเดอร์ ทำให้เรามีเว็บขายของออนไลน์ได้ฟรีๆ

  1. การสร้างบทความเพื่อสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

    เริ่มจากไปที่ Admin Menu แล้วเลือกหัวข้อ Posts และเลือก Add New เพื่อสร้างบทความ ซึ่งจะมีส่วนต่างๆ ที่คุณต้องทำความเข้าใจ ดังนี้

  • Title/Headline: หัวข้อบทความ
  • Visual Editor: ส่วนที่จะเขียนหรือใส่บทความของลงไป และจะมีเครื่องมือช่วยปรับแต่งรูปแบบ และการเลือกใช้งานสำหรับบทความที่เราสร้างขึ้นมา
  • Add Media: ใช้เพื่อแทรกรูปภาพหรือวิดีโอ
  • Publish: การตั้งค่าสถานะบทความ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ Publish (เผยแพร่แล้ว), Draft (ฉบับร่าง), Schedule (ตั้งเวลาโพสต์), Trash (ย้ายไปถังขยะ)
  • Category และ Tag: คือการกำหนดหมวดหมู่ของบทความและการจัดกลุ่มบทความที่มีKeyword เหมือนกัน
  1. การตรวจสอบ และใช้งานจริง

    เมื่อทำการตกแต่งหน้าเว็บไซต์ และโพสต์บทความตามที่ต้องการแล้ว ก็มาสู่การทดลองใช้งานเว็บไซต์และใช้งานจริง โดยสามารถเข้าไปดูหน้าเว็บไซต์ที่เมนู Visit Website เพื่อดูหน้าตาเว็บไซต์ของจริง และทำการทดลอง ประเมิณว่าพอใจมากน้อยเพียงใด หากยังไม่พอใจก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

      จะเห็นได้ว่าการทำเว็บไซต์ไม่ได้ยากหากเรามีตัวช่วยที่ดี ที่จะทำให้เราทำงานได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งสำคัญหลังจากที่เราได้หน้าเว็บไซต์แล้ว คือ การอัปเดตข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการอัพเดตและสื่อสารข้อมูลของแบรนด์ไปยังลูกค้าได้อย่างตรงจุด จนสามารถปิดการขายและเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจได้ในที่สุด

 

แหล่งที่มา: taokaemai.com/8-ขั้นตอนทำเว็บไซต์ธุรกิ/

 

 

 

Counter: 4842

Articles About this